ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของนางสาวณัฐพร คชกูล นักศึกษาป.บัณฑิตวิชาชีพครู รุ่น 13 หมู่ 2

งานนำเสนอ เรื่องสื่อการสอน

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

     ในการจัดทำสื่อหรือนวัตกรรมต่างๆ หากไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดทำแล้ว ปัญหาเรื่องความไม่สวยงามก็อาจเกิดขึ้น แต่หากสามารถออกแบบและสร้างงานด้วยการวาดภาพ และประดิษฐ์ตัวอักษรให้สวยงามได้ด้วยตนเอง เราก็สามารถจะจัดทำสื่อหรือนวัตกรรมที่มีความสวยงามและดึงดูดใจนักเรียนได้ โดยไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีอย่างคอมพิวเตอร์ ซึ่งการประดิษฐ์ตัวอักษรจัดเป็นขั้นเริ่มต้นของการผลิตสื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เพราะรูปแบบตัวอักษร สามารถสื่อความหมายได้ จากการใช้เส้นต่างๆ เช่น

การใช้เส้นตรง                        จะให้ความรู้สึกที่แข็งแรง มั่นคง
การใช้เส้นปะ ขาดๆ หายๆ            จะให้ความรู้สึกที่ไม่แน่นอน ลึกลับ
การใช้เส้นโค้ง                        จะให้ความรู้สึก รัก ความอ่อนโยน
การใช้เส้นซิกแซก                    จะให้ความรู้สึก น่ากลัว น่าเกลียด
การใช้เส้นอย่างอิสระ ไม่เป็นระเบียบ     จะให้ความรู้สึก ตลก ขบขัน
วิธีประดิษฐ์ตัวอักษรหัวเรื่อง

การใช้เส้นคู่ขนาน
  -  เขียนเส้นแกนตัวอักษรให้แต่ละตัวห่างกันพอสมควร
  -  เขียนเส้นขนาบตามทิศทางของเส้นแกน
  -  ตกแต่งให้สวยงามและอาจลบเส้นแกนออกก็ได้

คุณค่าของตัวอักษรหัวเรื่อง
  -  สรุปภาพรวมของเนื้อหา
  -  เร้าความสนใจ
  -  สื่อความหมายได้รวดเร็ว

ลักษณะตัวอักษรหัวเรื่องที่ดี
  -  ขนาดใหญ่
  -  ได้ใจความ
  -  เด่น
  -  สั้น
  -  สวยงาม
สีแบ่งเป็น 2 โทน
-
สีโทนร้อน
-
สีโทนเย็น

สีโทนเย็น
-
ชุดที่ 1 ได้แก่ ดำ, น้ำเงิน, เขียวแก่
-
ชุดที่ 2 ได้แก่ น้ำเงิน, เขียวแก่, เขียวอ่อน
-
ชุดที่ 3 ได้แก่ เขียวแก่, เขียวอ่อน, เหลือง

สีโทนร้อน
-
ชุดที่ 1 ได้แก่ เหลือง, ส้ม, แดง
-
ชุดที่ 2 ได้แก่ ส้ม, แดง, น้ำตาล
-
ชุดที่ 3 ได้แก่ แดง, น้ำตาล, ดำ

สีชุดพิเศษ (ฟ้า ชมพู ม่วง)
- Tint = Hue+White
-
สีน้ำเงิน + สีขาว = สีฟ้า
-
สีแดง + สีขาว = สีชมพู
- Shape = Hue+Black 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ภาพวันวาน...